Posts

ประเภททะเล

Image
ประเภททะเล ตำปูม้า  คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่ ปูม้า ดิบลงไปด้วย ปรุงรสแบบส้มตำไทย ตำหอยดอง  คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่ หอยดอง ลงไปด้วย ได้รสชาติความอร่อยที่แปลกไป ไม่เป็นที่นิยมในชาวลาวและชาวอีสาน ตำทะเล  (ตำทะเลรวม) คือส้มตำที่ใส่อาหารทะเลลงไปด้วย เช่น กุ้งสด กุ้งแห้ง ปลาหมึกสด ปลาหมึกแห้ง ลูกชิ้นปลา ปูนึ่ง เป็นต้น ตำหอยแครง  คือส้มตำที่ใส่หอยแครงลวกลงไป ตำปลาหมึกแห้ง  คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกแห้งฉีกหรือสับลงไป ตำปลาหมึก  (ตำปลาหมึกสด) คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกสดลวกลงไป ตำกุ้งแห้ง  คือส้มตำที่ใส่กุ้งแห้งลงไป ตำกุ้งสด  คือส้มตำที่ใส่กุ้งสดลงไป อ้างอิง https://sites.google.com/site/5731001070wkhsngkhla/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-smta/prapheth-khxng-smta

ประเภทประจำท้องถิ่น

ประเภทประจำท้องถิ่น ตำโคราช  คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า ใส่เส้นขนมจีน ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน ตำเวียง  (ตำเวียงจันทน์) คือส้มตำลาวที่มีอิทธิพลมาจากประเทศไทย บางกลุ่มนิยมใส่กะปิแทนปาแดก (ปลาร้า) และนิยมใส่เม็ดกระถินลงไปด้วย เพราะกะปิต้องทำมาจากกุ้งแดงในทะเล ประเทศลาวไม่ติดทะเล ตำเวียงจึงเป็นอาหารลาวที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศไทย ตำเซียงใหม่  (ตำเชียงใหม่) คือส้มตำลาวที่ใส่หอยเชอรี่และหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ลงไป อย่างไรก็ตาม ตำเชียงใหม่ไม่ได้กำเนิดที่เชียงใหม่ แต่กำเนิดที่อีสาน ตำพม่า  คือส้มตำของชาวพม่า ในประเทศพม่า ตำเขมร  คือส้มตำของชาวเขมร ในประเทศกัมพูชา ตำไทเหนือ  คือส้มตำที่ชาวไทยทางภาคเหนือหรือชาวล้านนาไปตำรับประทานกัน ส้มตำของชาวล้านนามักมีรสหวานจัด ไม่เผ็ดมาก และหน้าโรยด้วยถั่วลิสง ...

ประเภทผลไม้

ประเภทผลไม้ ตำหมากไม้  (ตำผลไม้รวม) คือส้มตำที่ใส่ ผลไม้ หลาย ๆ ชนิดลงไป เช่น มะละกอ แอปเปิล สับปะรด องุ่น ชมพู่ แตงโม เป็นต้น ตำหมากม่วง  (ตำมะม่วง) คือส้มตำที่ใส่ มะม่วง ดิบแทนมะละกอดิบ ตำหมากขาม  (ตำมะขาม) คือส้มตำที่ใส่ มะขาม ดิบแทนมะละกอดิบ ใส่ได้ทั้งมะขามขนาดเล็กที่ไม่มีเมล็ดและมะขามขนาดใหญ่ที่มีเมล็ดแล้ว แต่เอาเมล็ดออก ตำหมากกล้วย  (ตำกล้วย) คือส้มตำที่ใส่ กล้วย ดิบแทนมะละกอดิบ ตำหมากยอ  (ตำลูกยอ) คือส้มตำที่ใส่ ลูกยอ ดิบแทนมะละกอดิบ ตำหมากต้อง  (ตำกระท้อน) คือส้มตำลาวที่ใส่ลูกกระท้อนลงไป ไม่นิยมใส่เส้นมะละกอดิบ ตำหมากเดื่อ  (ตำลูกมะเดื่อ) คือส้มตำที่ใส่ผล มะเดื่อ แทนมะละกอดิบ ไม่นิยมใส่มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว เส้นมะละกอลงไป แต่นิยมปลาร้า พริก กระเทียมลงไป ตำหมากนัด  (ตำสับปะรด) คือส้มตำที่ใส่ สับปะรด สุกแทนมะละกอดิบ อ้างอิง https://sites.google.com/site/5731001070wkhsngkhla/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-smta/prapheth-khxng-smta

ประเภทพืชผัก

ประเภทพืชผัก ตำหมากแตง  (ตำแตง) คือส้มตำที่ใส่ แตงกวา แทนมะละกอดิบ ตำแตงไข่เค็ม  คือส้มตำที่ใส่ แตงกวา และไข่เค็มแทนมะละกอดิบ ตำแตงหมูยอ  คือส้มตำที่ใส่ แตงกวา และหมูยอแทนมะละกอดิบ ตำหมากถั่ว  (ตำถั่ว) คือส้มตำที่ใส่ ถั่วฝักยาว แทนมะละกอดิบ ตำข่า  คือส้มตำที่ใส่ลำต้น ข่า แทนมะละกอดิบ ตำหัวซิงไค  (ตำตะไคร้) คือส้มตำที่ใส่ลำและหัว ตะไคร้ แทนมะละกอดิบ ตำหมากสาลี  (ตำข้าวโพด) คือส้มตำที่ใส่ ข้าวโพด แทนมะละกอดิบ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว ตำแคร์รอต  คือส้มตำที่ใส่ แคร์รอต ดิบเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับมะละกอ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว ตำแก่นตะวัน  คือส้มตำที่ใส่ แก่นตะวัน  (ทานตะวันหัวหรือแห้วบัวตอง) แทนมะละกอดิบ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากเป็นพืชที่มีแคลอรีต่ำ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว อ้างอิง https://sites.google.com/site/5731001070wkhsngkhla/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-...

ประเภทเส้น

ประเภทเส้น ตำเส้น  คือส้มตำที่ใส่อาหารจำพวกเส้นลงไป เช่น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นหมี่โคราช เส้นข้าวเปียก (เส้นก๋วยจั๊บญวน) หรือเส้นเซี่ยงไฮ้ อย่างใดอย่างหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ ตำเข้าปุ้น  (ตำขนมจีน) คือส้มตำที่ใส่เส้นขนมจีนกับเส้นมะละกอดิบ บางครั้งก็ไม่ใส่เส้นมะละกอ ตำมาม่า  คือส้มตำที่ใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อต่าง ๆ เช่น มาม่า ไวไว นำไปลวกน้ำร้อนตำกับเส้นมะละกอดิบ ตำด้องแด้ง  (ตำหัวไก่) คือส้มตำลาวที่ใส่เข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนขนาดใหญ่เท่านิ้วก้อย เรียกว่า เส้นหัวไก่ ลงไป เป็นตำที่อร่อย มีเอกลักษณ์ และหารับประทานได้ยากมาก อ้างอิง https://sites.google.com/site/5731001070wkhsngkhla/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-smta/prapheth-khxng-smta

ประเภทผสม

Image
ประเภทผสม ตำซั่ว  (ตำซว้า, ตำซวั้ว) คือส้มตำที่ใส่ทั้งเส้นเข้าปุ้นหรือเส้น ขนมจีน และเส้นมะละกอ ผักดอง น้ำผักดอง ข้าวคั่ว หอย ถั่วงอก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน ตำมั่ว  คือตำซั่วที่ใส่เครื่องให้มากขึ้น เช่น กุ้งแห้ง ลูกชิ้น หอมบั่ว (ต้นหอม) หอมเป (ผักชีฝรั่ง) ตลอดจนปลาแห้ง ปลากรอบ หมูยอ หรือหมูหยอง เป็นต้น ตำป่า  คือส้มตำที่ใส่เครื่องและผักหลายชนิด เช่น  หน่อไม้  ผักกะเสด ( ผักกระเฉด )  ผักกาดดอง   ปลากรอบ   ถั่วลิสง   ถั่วงอก   ถั่วฝักยาว  รวมถึง หอยแมลงภู่  เป็นต้น จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน มีชื่อเสียงที่สุดคือ ตำป่าจากจังหวัดมหาสารคาม เรียกติดปากว่า "ตำป่าสารคาม" ตำไข่เค็ม  คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยกับไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด ตำหมูยอ  คือส้มตำที่ใส่หมูยอกับเส้นมะละกอดิบ ตำปลากรอบ  คือส้มตำที่ใส่ปลารอบรสหวานกับเส้นมะละกอดิบ ตำปลาแห้ง  คือส้มตำที่ใส่ปลาแห้งชนิดใดชนิดหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ ตำหมากหอย  (ตำหอย) ...

ประเภททั่วไป

ประเภททั่วไป ตำปลาร้า  คือส้มตำที่ใส่ปลาร้าหรืออีสานเรียกว่าปลาแดกหรือ ปลาร้า เป็นหลัก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและประเทศลาว และถือเป็นตำไทยอีสานอย่างหนึ่ง ตำปู  คือส้มตำที่ใส่ปูเค็มหรือปูดองแทน กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสง คั่ว รสชาติออกเค็มนำ บางแห่งนิยมปูดิบ บางแห่งนิยมปูสุก บางแห่งนิยมปูนา หรือปูทะเล ตำปูปลาร้า  คือส้มตำที่ใส่ทั้งปูและปลาร้าลงไป ตำไทย  คือส้มตำที่ไม่ใส่ ปู และ ปลาร้า  แต่ใส่ กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสง คั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า  ส้มตำไทยใส่ปู ตำลาว  คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาวที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไทยซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาแดกและมะละกอดิบเป็นหลัก บางครั้งเรียกว่า "ตำปาแดก" ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เดิมแล้วเรียกตำลาวว่า "ตำหมากหุ่ง" อ้างอิง https://sites.google.com/site/5731001070wkhsngkhla/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-smta/prapheth-khxng-smta